- เมื่ออาทิตย์ก่อนมีลูกค้าที่เคยฝากขายบ้านโทรมาถามเรื่อง “ค่าโอน” ที่ต้องจ่าย ณ กรมที่ดินมีอะไรบ้าง ใครต้องเป็นคนจ่าย ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญทีเดียวเพื่อความถูกต้อง ชัดเจน ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา ผมจะลงข้อมูลไว้ให้อ่านกันสั้นๆ ครับ
ถ้าพูดภาษาชาวบ้านเราโดยทั่วๆไป คำว่าค่าโอน หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดตั้งแต่ข้อ 1-7 ครับ
สำหรับบางคนที่เน้นความถูกต้องทุกประโยค (มองในแง่ดีว่าเขาคิดแบบนั้นนะครับ) คำว่าค่าโอน หมายถึง ค่าธรรมเนียม อปท. เท่านั้น
และเพื่อป้องกันคนหัวหมอ (ต้องเจอแน่ๆ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง)หรือพูดให้เคลียร์ ชัดเจนไปเลย เราควรบอกว่า “ค่าใช้จ่ายทั้งหมด ณ กรมที่ดิน” แทนคำว่า “ค่าโอน” ครับ
- ค่าใช้จ่ายต่างๆ ณ กรมที่ดิน
1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล
2.ค่าโอนบ้าน (ค่าธรรมเนียม อปท.)
3.อากร
4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ (กรณีที่่่เราได้ทรัพย์สินมาไม่เกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านไม่ครบ 1 ปี) ===๏ ถ้าต้องเสียส่วนนี้ ค่าอากร ( ข้อ 3. ) เราไม่ต้องเสียครับ
5.รายได้ท้องถิ่น (ส่วนนี้จะต้องจ่ายเมื่อ เราต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ข้อ 4.)
** ปกติภาษีธุรกิจเฉพาะ เราเคยคุ้นว่าต้องเสีย 3.3% เข้าใจแบบนั้นได้ครับ แต่จะให้ถูกคือ 1.ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3% และ 2.รายได้ส่วนท้องถิ่นอีก 0.3%
6. อื่นๆ เช่น ค่าคำขอ ค่าพยาน ส่วนนี้ไม่กี่ร้อยบาทครับ
7. ค่าจดจำนอง ( กรณียื่นกู้/ขายฝาก)
- ซึ่งค่าใช่จ่ายต่างๆ สามารถแยกจ่ายตามส่วนของใครของมัน บางอย่างควรหารกัน หรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดออกคนละครึ่งแล้วแต่จะตกลงกันครับ
บทความโดย THORRANINHOMELAND & BEYOND CO., LTD.
More Stories
✴สื่อแบบไหนเหมาะที่สุด? ระหว่าง โซเซี่ยล (ไลน์ ข้อความ)/ โทรหา / เข้าพบ(face to face)
#คู่สมรสมาด้วยไหม๊? ☝เคยได้ยินคำถามนี้จากเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินในวันมาโอนกรรมสิทธิไหมครับ
ทำไมต้องไปดูบ้านที่จะขายเองก่อนพาคนซื้อเข้าดู ไม่พาคนซื้อมาดูเลยหล่ะ?