23-12-24

AsunghaNayoo(อสังหาน่าอยู่)

#อสังหาริมทรัพย์น่าอยู่ #อสังหาน่าอยู่ #อสังหาริมทรัพย์ #อสังหาขอนแก่น #อสังหาริมทรัพย์ทั่วไทย #nayoo #น่าอยู่ #บ้านที่ดินทั่วไทย #บ้านที่ดินขอนแก่น #ซื้อขายบ้านที่ดิน #ซื้อขายบ้านที่ดินขอนแก่น #บ้านและที่ดินขอนแก่น #บ้านและที่ดิน #ซื้อขายบ้านที่ดินขอนแก่น #บ้านที่ดินภาคอิสาน #ซื้อขายบ้านที่ดินภาคอิสาน #อสังหาริมทรัพย์มือสอง #ซื้อขายบ้านและที่ดิน #ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ #อสังหาริมทรัพย์มือสองขอนแก่น #บ้านมือสองขอนแก่น #อสังหามือสอง #asunghanayoo #broker #BrokerRealEstate #agent #agency #AgencyRealEstate #ตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ #นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ #นายหน้าบ้านและที่ดิน #ตัวแทนบ้านและที่ดิน #ขายบ้านและที่ดิน #ขายบ้านที่ดิน #โครงการบ้านใหม่ #บ้านจัดสรร #บ้านมือหนึ่ง #บ้านในโครงการ #ที่ดินจัดสรรขอนแก่น #ที่ดินจัดสรร #โครงการบ้านขอนแก่น #ที่ดินจัดสรรราคาถูก #ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ #บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ #ยื่นกู้ #บริการยื่นกู้ @มืออาชีพ ซื่อตรง จริงใจรับ ผิดชอบ @ตัวแทนนายหน้าที่รับรองจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย(TREBA) สมาชิกวิสามัญบุคคลธรรมดา เลขที่ 6003-000646/Thai Real Estate Broker Association Membership Number 6003-000646 @คุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI) สาขาวิชาชีพธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สาขานายหน้าอสังหาริมทรัพย์ อาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์

ขายฝาก/จำนอง ทางด้านผู้ฝาก (เจ้าของทรัพย์ที่นำไปฝากกับนายทุน)…

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาผมเขียนถึงการขายฝาก/จำนองทางฝั่งผู้รับขายฝาก/จำนอง (นายทุน/ธนาคาร/บุคคลทั่วไป) ครั้งนี้ผมจะพูดถึงด้านผู้เอาทรัพย์สินไปฝากไว้บ้าง
การนำทรัพย์ไปฝากไว้กับธนาคารโดยการจำนอง เมื่อเราจะนำเงินไปไถ่ถอนส่วนมากจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ที่มีปัญหาส่วนมากจะเป็นบุคคลหรือนายทุนทั่วไปนี่แหละครับ
ปัญหาคือ เมื่อจะนำเงินไปไถ่ถอนแล้วทางนายทุนจะบ่ายเบี่ยงหรือหาเหตุผลต่างๆ นานา เช่น ติดธุระด่วนบ้าง อยู่ต่างประเทศบ้าง เพื่อให้เลยกำหนดระยะเวลาที่เราไปทำนิติกรรมที่กรมที่ดินไว้ ผลคือ ถ้าขายฝากไว้ ทรัพย์สินจะตกเป็นของนายทุนผู้ร้บฝาก 100% ทันที หากทำการจดจำนองเรายังมีขั้นตอนในการฟ้องร้องทางกฎหมายได้
กรณีเมื่อถึงกำหนดเวลาไถ่ถอน แต่เราไม่มีเงินไปไถ่ถอน สิ่งที่ต้องทำคือ ขอยืดระยะเวลาออกไปอีก และต้องไปนิติกรรมที่กรมที่ดินต่อหน้าเจ้าพนักงานนะครับ **(ย้ำเลยนะครับ) จะพูดคุยเออ ออกันเองไม่ได้ ไม่มีผลผูกมัดใดๆ ถ้าทางฝ่ายรับฝากคิดไม่ซื่อขึ้นมา ทางเจ้าของทรัพย์ที่นำไปฝากไว้ ไม่มีสิทธิ์ใดๆ อีกเลย ไปฟ้องร้องโอกาสแพ้คดีเกือบ 100% ครับ
** เจ้าของทรัพย์ผู้นำไปฝากควรหาทางพูดคุยกับผู้รับฝากยืดระยะเวลาออกไปอีกตั้งแต่เนิ่นๆ เช่น เหลือเวลาอีก 1 เดือน ควรพูดคุยได้แล้วครับ ถ้าช้ากว่านั้นจะไม่ทันการเอา
** ระยะเวลาในการรับฝาก ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ระยะเวลารวมกันไม่เกิน 3 ปี / อสังหาริมทรัพย์ ระยะเวลารวมกันไม่เกิน 10 ปี ครับ
กรณีเมื่อเราจะนำเงินไปไถ่ถอนแต่ผู้รับฝากบ่ายเบี่ยงทุกอย่าง เพื่อให้เลยกำหนดเวลาและทรัพย์นั้นจะตกเป็นของเขา แล้วเราต้องทำอย่างไร
วิธีการแก้ไข
นัดหมายกับผู้รับฝาก ทุกวันนี้ง่ายมาก การพูดคุย ทางไลน์ โทรศัพท์ได้ทั้งนั้น ให้มีหลักฐานในการนัดหมายที่เขารับทราบ (ไม่จำเป็นต้องถึงวันสุดท้ายที่จะไถ่ถอนนะครับ เรามีเงินพร้อมไถ่ถอนตอนไหน ทำได้เลยครับ)
ถึงวันนัดหมาย ไปที่กรมที่ดิน (ทางผู้ร้บฝากเขาไม่ไปอยู่แล้วในกรณีคิดจะโกง) ให้เจ้าหน้าที่รับรู้ว่าเรามาทำอะไร หรือขอให้ออกหนังสือที่แสดงว่าตัวเรามาทำการไถ่ถอนทรัพย์คืน
นำหลักฐานที่ได้จากกรมที่ดินและเงินไปทำการวางทรัพย์ที่กรมบังคับคดีในจังหวัดนั้นๆ ทางเจ้าพนักงานจะดำเนินการให้เราเองครับ ** แนะนำว่าเงินที่นำไปวางควรจะวางเกินไว้หน่อยก็ดีนะครับ เช่น เงินต้น+ดอกเบี้ย = 55,000 เราควรวางไว้สัก 60,000 ก็ได้ เผื่อเราคำนวณผิดพลาด ถ้าเกินเราได้รับคืนครับ
ลองดูคลิปสั้นๆ ประกอบไปด้วยจะได้เข้าใจมากขึ้นครับ https://youtu.be/qjXmb61bDz0 (ขอบคุณคลิปดีๆ จาก youtube ครับ)
บทความโดย THORRANINHOMELAND & BEYOND CO., LTD.